วิ-ช่วน เมอร์เช่นไดซ์ VISUAL MERCHANDISE คือ การนำเสนอภาพมุมมองที่สร้างแรงจูงใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงการจัดวางสินค้าโดยที่ลูกค้าสามารถ เลือกซื้อสินค้า ณจุดนั้นได้ทันทีโดยส่วนใหญ่การจัดแบบนี้จะเห็นได้ตามห้าง DISCOUNT STORE ทั่วไปของบ้านเราอะครับ(มีเพียบ)ที่นี้พอจะเข้าใจความหมายแล้วนะครับ
Exterior display
Exterior display เอ็กซ์ทีเรีย ดิสเพลย์ คือ รูปแบบการตกแต่งด้านนอกของตัวอาคารสถานที่ เช่น โถงด้านนอกของทัวอาคาร สวนหย่อมด้านหน้าอาคาร ทางเท้า ลานจอดรถ ลานเอนกประสงค์ ซึ่งจะใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และกินพื้นที่กว้างในการจัด ดิสเพยล์แบบนี้ ถ้าสังเกตุดีๆห้างใหญ่ๆในบ้านเราจะจัดดิสเพลย์แบบนี้ในช่วงท้ายปี หรือเทศกาลงานรื่นเริ่งต่างๆประดับประดาแสงสีเสียงอย่างเต็มที่
จุดประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับ
นอกจากความสวยงาม ความโดดเด่น ดึงดูดความสนใจแล้ว ก็ยังมีในเรื่องของความพึงพอใจความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีที่มี่ต่อห้าง ร้าน เหล่านั้นและยังบอกถีงกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นภายในตัวห้างร้าน ผ่านการจัดดิสเพลย์ในรูปแบบนี้
ที่นี้คงจะพอเห็นภาพแล้วนะครับว่าการจัดดิสเพลย์แบบนี้เป็นแบบไหนกัน โดยเฉพาะห้างใหญ่ๆในบ้านเราแทบจะลงทุนอย่างมากเพื่อให้ห้างของเค้านั้นเป็นผู้นำเรื่องภาพลักษณ์ที่ดี มันเป็นจิตวิทยาที่ดีอย่างหนึ่งครับ อย่างน้อยถ้าคุณไม่โดยมนต์สะกดของการจัดเอ็กซ์ทีเรีย ดิสเพลย์ คือหลงเดินเข้าไปในห้างพร้อมกับชื้อสินค้า..คุณก็ต้องเคยไปถ่ายรูปกับการจัดดิสเพลย์แบบนี้ที่หน้าห้างจริงมั้ยครับ...
ที่นี้คงจะพอเห็นภาพแล้วนะครับว่าการจัดดิสเพลย์แบบนี้เป็นแบบไหนกัน โดยเฉพาะห้างใหญ่ๆในบ้านเราแทบจะลงทุนอย่างมากเพื่อให้ห้างของเค้านั้นเป็นผู้นำเรื่องภาพลักษณ์ที่ดี มันเป็นจิตวิทยาที่ดีอย่างหนึ่งครับ อย่างน้อยถ้าคุณไม่โดยมนต์สะกดของการจัดเอ็กซ์ทีเรีย ดิสเพลย์ คือหลงเดินเข้าไปในห้างพร้อมกับชื้อสินค้า..คุณก็ต้องเคยไปถ่ายรูปกับการจัดดิสเพลย์แบบนี้ที่หน้าห้างจริงมั้ยครับ...
อินทีเรีย ดิสเพลย์ Interior display
อินทีเรีย ดิสเพลย์ คือการจัดDISPLAYตกแต่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในร้านค้า/ช็อป.โดยมากมักจะสอดคล้องมีทิศทางเดียวกันกับ Exterior display และมีจุดประสงค์หลักๆดังนี้คือ
- ความสวยงามของร้านค้า..ตามบรรยากาศเทศกาล/ฤดูต่างๆ
- ป้ายรูปภาพสัญญาลักษณ์ต่างๆที่สื่อให้เห็นถึง ประเภทของสินค้า หมวดหมู่ของสินค้า ทางเดินแผนที่ รายละเอียดข้อความต่างๆของตัวสินค้า ฯลฯ
- แสดงถึงการใช้งานจุดทดลองสินค้าแสดงการใช้งานถึงFUNTIONต่างๆของตัวสินค้า
- Giant display คือการตั้งกองสินค้าที่มีขนาดใหญ่เป็นกองภูเขาด้วยต้วสินค้าหรือตัวกล่องของสินค้าเองหรือการทำโมเดลจำลองของตัวสินค้าที่มีขนาดใหญ่(mock up)..เพื่อเรียกร้องให้ลูกค้าตื่นเต้น สะดุดตา ดึงดูดความสนใจ ซึ่งการจัด Giant display นี้จะทำงานสอดรับกับ Environmental display
- Environmental display คือการจัดบรรยากาศจำลอง เช่น เทศกาลต่างๆ หรือฤดูต่างๆ ณ ตอนนั้น
- Mobile display คือกล่องหรือแสตนย์ วางขายสินค้าโดยมีรายละเอียดรูปภาพนึ่งหรือสื่อภาพเคลื่อนไหวอยู่ที่ตัวกล่องมีการทดลองสาธิตสินค้า คุณสมบัติพิเศษคือ สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกรวดเร็ว
- เชล์ฟ กอร์คเกอร์ Shelf talker คือ ภาพนิ่ง/ป้ายเคลื่อนไหว/ภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบอกถึงคุณสมบัติของตัวสินค้า ซึ่งจะพบบ่อยตรงชั้นวางสินค้า .ในห้างสรรรพสินค้า
- เคาร์เตอร์ ดิสเพลย์ Counter display คือ การดิสเพลย์ตรงบริเวณเคาร์เตอร์ เช่น ตรงเคาร์เตอร์ชำระเงิน เคาร์เตอร์เครื่องสำอาง
ทำไมต้องจัด Visual merchandising (vm)?
ที่นี้เราลองมาดูกันนะครับว่าการจัด VM นั้นมันดียังไงเพราะเหตุใดห้างร้านค้าเล็กใหญ่จึงนิยมจัดกันครับ.โดยผมแยก ขัอดีของมันออกมาเป็นหัวข้อหลักๆได้ดังนี้ครับ..
- ทำให้ลูกค้ามอง เห็นสินค้าและกลุ่มของสินค้าได้ง่ายและสร้างแรงจูงใจต่อการเลือกซื้อสินค้า นั้นๆ
- ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาในการค้นหาสินค้า
- เป็นแนวทาง แนะนำไอเดีย(ไกด์ไลน์)ในการซื้อสินค้า
- สร้างบรรยากาศที่ดีในการซื้อ สินค้าและทำให้พนักงานมีโอกาสเปิดบทสนทนากับลูกค้าได้
- เพิ่มโอกาส ขายและสร้างยอดขาย
จิตวิทยาในการเลือกซื้อสินค้าประกอบด้วย
ลองดูภาพประกอบกันไปด้วยนะครับ..จะได้เข้าใจ ถึงการใช้จิตวิทยาในการซื้อสินค้าเข้ามาช่วยในการจัด Vm ครับ
ภาพตัวอย่าง 1- สัง เกตุสนใจ
- ชอบ+อยากได้
- เลือกซื้อ
ภาพตัวอย่าง 2
เป็นไงบ้างครับคงพอจะเข้าใจแล้วนะครับ..ว่าทำไมห้าง,ร้านค้าต่างๆ ต้องอาศัยการจัด VM. และแข่งขันกันจัดร้านให้ดูสวยงามและปรับเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอกัน..ทีนีคง เห็นถึงความสำคัญของคำว่า VISUAL MERCHANDISE กันแล้วนะครับ..
หลักที่สำคัญของการจัด VISUAL MERCHANDISE / DISPLAY DESIGN
ในหัวข้อนี้ผมขอพูดการจัด DISPLAY แบบกว้างๆนะครับ.ซึ่งก็แล้วแต่สินค้าที่จะทำการ DISPLAYครับโดยส่วนตัวแล้วผมใช้หลักๆประมาณ 5 ข้อครับ ..แต่อย่างว่าครับ.มันแล้วแต่สไตยล์ครับบางคนอาจจะจัดไม่ครับทั้ง5ข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจครับ..โอเคเราลองมาดูกันเลยครับว่ามีอะไรบ้าง (ดูที่รูปแรกซ้ายมือประกอบนะครับ)
1ตัวสินค้า (MERCHANDISE)
ต้องคำนึงถึงตัวสินค้าครับว่าเราต้องการที่นำเสนอสินค้าอะไร เป็น NEW COLECTION มั้ย.เป็นสินค้ามาใหม่ที่ต้องบการนำเสนอหรือเป็นสินค้าที่เอ้าท์แล้วแต่ต้องการที่จะผลักดันออกสต๊อก
2 พื้นที่สำหรับจัดแสดง (DISPLAY AREA)
ก็ต้องดูถึงพื้นที่ในการจัดแสดงว่าตั้งอยู่ในจุดที่โดดเด่นมั้ย.อยู่ในจุดที่ทุกคนมองเห็นได้ดีมั้ย.มีรูปลักษณะยังไงมีพื้นที่แบบไหนมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
3 วัสดุตกแต่งหรือของตกแต่ง (PROP)
สำหรับวัสดุหรือของตกแต่งนั้นจุดประสงค์ก็เพื่อส่งเสริมตัวสินค้าให้เด่น.ส่งเสริมบรรยากาศโดยรวมหรือเพื่อความสวยงามเช่น ดอกไม้ แจกัน กรอบรูป ฯลฯ
4 แสงไฟ (LIGHTING)
จัดประสงค์ก็เพื่อส่องสว่างให้กับตัวสินค้าเพิ่มความโดดเด่นเน้นตัวสินค้า นำพาสายตา ทำให้บรรยากาศดูมีมิติ ไม่ให้ดูแบน
5 แผ่นป้าย (SHOW CARD)
นับว่าเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นเพื่อการบอกข้อมูลเฉพาะของตัวสินค้าให้ลูกค้าได้ทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า อย่างเช่น ขนาด สี แบบ ราคา และควรวางอยู่ในตำแหน่งที่ลูกค้าเห็นได้ชัดเจน
หลักของการใช้สีในการจัดเรียงสินค้า
โดยที่กล่าวมาในบทของ ทษฎีศิลป์ (BASIC ART)ซึ่งผมได้พูดถึงเรื่องของโครงสี วงจรสี วรรณะของสี และความหมายของสีหรืออารมณ์ของสีไปแล้ว..แต่สำหรับการจัดเรียงโดยใช้สีนั้นก็ไม่มีอะไรมากมายครับ.หลักของมันก็คือการจัดแบบไล่โทนสีจากอ่อนไปหาโทนสีเข้มในส่วนนี้มักใช้ความรู้สึกทางสายตาเป็นตัวกำหนดครับ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การไล่สีจากวงจรสีครับโดยดูในรูปวงจรสี ผมจะยกตัวอย่างจากการไล่สีเหลืองก่อน (เบอร์ 1 ) โดยใช้วิธีการไล่สีแบบตามเข็มนาฬิกาครับ..แล้วก็ไล่ไปตามสีของช่องสีถัดไปเรื่อยๆครับ.ซึ่งก็ไม่ยากอะไรมากนัก..แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเริ่มจากสีเหลืองทุกครั้งก่อนนะครับ
ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการไล่สีของเราเป็นหลักว่าจะไล่สีแบบทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา หรือจะจัดเรียงสินค้าแบบแบ่งกลุ่ม โทนสีร้อน-เย็น แล้วแต่สะดวกหรือข้อจำกัดในเรื่องสีของสินค้าที่ผลิตออกมาครับ..ข้อดีของการจัดแบบนี้ก็คือทำให้ดูสบายตาและอยู่บนหลักการที่ถูกต้องตามวงจรของสีครับ..
การใช้องค์ประกอบทางศิลปะมาใช้จัด DISPLAY / VISUAL MERCHANDISE
สำหรับใน การจัด DISPLAYนั้นเราต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะเข้ามาช่วยเราในการเรียกร้อง หรือดึงดูดความสนใจของผู้คนครับ. ทำไมถึงต้องใช้ความรู้ทางด้านศิลป์เข้ามาช่วยครับ อย่างแรกก็เรื่องของความสวยงาม การจัดวางอย่างเป็นจังหวะ การใช้สีสันต่างๆ อย่างลงตัวทั้งหมดก็เพื่อทำให้ผู้คนที่พบเห็นเกิดภาพจินตนาการความอยากได้ และเกิดการเลือกซื้อ.โอเคเรามาดูกันครับว่าการใช้องค์ประกอบทางศิลป์มีอะไร บ้างครับ
องค์ประกอบทางศิลป์ที่ใช้ในการจัด DISPLAY / VISUAL MERCHANDISE
1 เอกภาพ UNITY
2 ความสมดุล BALANCE
3 การเน้น EMPHASIS
4 ความกลมกลืน HARMONY
5 ความขัดเเย้ง CONTRAST
6 จังหวะลีลา RHYTHM
1 เอกภาพ UNITY คือ การเลือกสินค้าที่จะ DISPLAY เป็นไปในทิศทางเดียวกันเช่น เป็น COLECTION เดียวกัน เป็นสินค้ากลุ่มเดียวกัน มีวัสดุหรือTEXTURE ชนิดเดียวกันมาจัดแสดง..ตามตัวอย่างรูปด้านล่างครับ.
2 ความสมดุล BALANCE คือ ความพอเหมาะพอดีในสัดส่วนต่างๆทั้งซ้ายและขวา ในการจัด DISPLAY ซึ่งจะต้องคำนึงในส่วนนี้เดียวเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกหนักไปทางด้านใด ด้านหนึ่งครับ.โดยทางด้านศิลปะนั้นความสมดุลนั้นมี2แบบด้วยกันครับ
2.1 ความสมดุลแบบ สมมาตร คือ ความสมดุลแบบทั้ง2ด้านซ้าย-ขวาเท่ากันครับ. ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกทั้งซ้ายและขวานั้นเท่ากันเหมือนกับเราพับกระดาษ ให้2ข้างเท่ากันแล้วคลี่ออกมาแล้วรูปในกระดาษมันเท่ากันทั้ง2ด้านตามรูปด้าน ล่างครับ
2.2 ความสมดุลแบบ อสมมาตร คือ ความสมดุลแบบทั้ง2ด้านไม่เท่ากันและมีรูปทรงหรือรูปแบบที่ต่างกันแต่เมื่อ มองดีๆแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกที่มีความถ่วงดุลกันทำให้รู้สึกเท่ากัน โดยส่วนใหญ่การจัด DISPLAY สินค้ามักจะใช้แบบนี้กันเป็นส่วนมาก ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง
3 การเน้น EMPHASIS คือ การสร้างจุดเด่นหรือเน้นเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการใช้สีตรงกันข้ามกันเพื่อให้เกิดความสะดุดตาหรือใช้ PROPประกอบการจัด DISPLAY จำนวนมากเพื่อให้ดูโดดเด่น และการตั้งกองสินค้าให้ดูใหญ่โตเป็นต้น..ตามตัวอย่างรูปด้านล่างครับ
4 ความกลมกลืน HARMONY คือ การสัมพันธ์กันในเรื่องประเภทของสินค้า,เรื่องของสี, การใช้งาน, รูปร่าง,ลักษณะ พื้นผิว..เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วดูกลมกลืนและเข้ากันได้ดีไม่ก่อให้ เกิดความรู้สึกแตกแยกจากพวกเดียวกัน .. ดูจากรูปด้านล่างครับ
5 ความขัดเเย้ง CONTRAST คือ ความไม่ลงลอยหรือไม่เข้าพวกกันเพื่อ เรียกร้องความสนใจ เพื่อให้ดูไม่น่าเบื่อ กับผู้ที่พบเห็นแล้วทำให้เกิดความสนใจหรือข้อสังเกตุ..โดยภาพรวมของการใช้ ความขัดแย้งนั้นถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว ถ้ามองภาพรวมของการจัด DISPLAY เป็น100% แต่ให้ใช้รูปแบบความขัดแย้งแค่20% ก็พอครับ. แต่ถ้ามากกว่า 20เปอร์เซ็นต์อาจเกิดความรู้แตกแยกกันครับ..จากรูปตัวอย่างด้านล่างนั้นการ จัด DISPLAY โดยใช้สีเป็นตัวขัดแย้งกันครับ. คือ สีแดง+ส้ม (80 %) ซึ่งมันตรงข้ามกับสีน้ำเงิน (20%) ตามวงจรของสี ดูที่รูปด้านล่าง
6 จังหวะลีลา RHYTHM คือ การใช้พื้นที่เพื่อการจัดองค์ประกอบความถี่ห่าง .การเว้นช่องไฟของวัตถุหรือสินค้าทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง.เพื่อให้เกิด จังหวะที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อหรือแน่นจนรู้สึกอึดอัดจนเกินไป..ด้วยจังหวะและ ช่องไฟที่พอดีตามรูปด้านล่างครับ
โดย ทั้งหมดก็ประมาณ 6 ข้อ ตามที่ได้กล่าวมาครับ . และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำก็คือการสำรวจข้อบกพร่องต่างๆว่าเหมาะสมหรือไม่ เหมาะสมครับ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ความพึ่งพอใจของผู้ที่จัด DISPLAY และประสบการณ์ ของคนนั้นๆครับ.
สำหรับการจัดสินค้าโชว์นั้นเราสามารถแบ่งรูปแบบการนำ เสนอสินค้าได้3แบบหลักๆที่นิยมกัน.ดังนี้ครับ
จัด display สินค้ารูปทรง ปิรามิด Pylamid
การ จัดเรียงสินค้าเป็นแบบเหลี่ยมในแนวตั้ง สำหรับสินค้าที่สามารถซ้อนกันได้ในแนวสูงหรือถ้าซ้อนกันไม่ได้ก็ต้องจัดใน แนวนอน.ซึ่งในการจัด display สินค้าแบบนี้จะให้ความรู้สึกโดดเด่นสะดุดตา,หยิบยื่นหรือทิ่มแทงครับ. ดูรูปภาพประกอบครับ
การจัด display โดยแบ่งกลุ่มสินค้า Grouping
การจัดสิ้นค้าแบบนี้จะ จัดเป็นกลุ่มครับ.โดยมีขนาดของสินค้าเล็กและใหญ่ผสมกันโดยจัดวางตำแหน่งของ ช่องไฟให้เหมาะสมและสมดุลกันหรือเป็นสินค้าที่เป็นColectionเดียวกันชนิด เดียวกัน โดยถ้ามองดูออกมาเป็นภาพใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
การจัด display สินค้าแบบขั้นบันได Step
การจัด เรียงแบบนี้จะให้จุดเด่นของตัวสินค้าได้ดีโดยเฉพาะสินค้าที่อยู่บนสุดซึ่งจะ ดูดึงดูสายตาและให้ความรู้สึกถึงความสำคัญ . โดยการจัดนั้นจะต้องหา Prop ที่เป็นขั้นบันไดหรือกล่องมาประกอบการจัด..และจัดสินค้าโดยไล่ความสำคัญของ สินค้าจากฐานด้านล่างไล่ขึ้นไปถึงด้านบน.
6 จังหวะลีลา RHYTHM คือ การใช้พื้นที่เพื่อการจัดองค์ประกอบความถี่ห่าง .การเว้นช่องไฟของวัตถุหรือสินค้าทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง.เพื่อให้เกิด จังหวะที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อหรือแน่นจนรู้สึกอึดอัดจนเกินไป..ด้วยจังหวะและ ช่องไฟที่พอดีตามรูปด้านล่างครับ
โดย ทั้งหมดก็ประมาณ 6 ข้อ ตามที่ได้กล่าวมาครับ . และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำก็คือการสำรวจข้อบกพร่องต่างๆว่าเหมาะสมหรือไม่ เหมาะสมครับ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ความพึ่งพอใจของผู้ที่จัด DISPLAY และประสบการณ์ ของคนนั้นๆครับ.
รูปแบบการจัดสินค้าโชว์ (Display)
สำหรับการจัดสินค้าโชว์นั้นเราสามารถแบ่งรูปแบบการนำ เสนอสินค้าได้3แบบหลักๆที่นิยมกัน.ดังนี้ครับ
จัด display สินค้ารูปทรง ปิรามิด Pylamid
การ จัดเรียงสินค้าเป็นแบบเหลี่ยมในแนวตั้ง สำหรับสินค้าที่สามารถซ้อนกันได้ในแนวสูงหรือถ้าซ้อนกันไม่ได้ก็ต้องจัดใน แนวนอน.ซึ่งในการจัด display สินค้าแบบนี้จะให้ความรู้สึกโดดเด่นสะดุดตา,หยิบยื่นหรือทิ่มแทงครับ. ดูรูปภาพประกอบครับ
การจัด display โดยแบ่งกลุ่มสินค้า Grouping
การจัดสิ้นค้าแบบนี้จะ จัดเป็นกลุ่มครับ.โดยมีขนาดของสินค้าเล็กและใหญ่ผสมกันโดยจัดวางตำแหน่งของ ช่องไฟให้เหมาะสมและสมดุลกันหรือเป็นสินค้าที่เป็นColectionเดียวกันชนิด เดียวกัน โดยถ้ามองดูออกมาเป็นภาพใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
การจัด display สินค้าแบบขั้นบันได Step
การจัด เรียงแบบนี้จะให้จุดเด่นของตัวสินค้าได้ดีโดยเฉพาะสินค้าที่อยู่บนสุดซึ่งจะ ดูดึงดูสายตาและให้ความรู้สึกถึงความสำคัญ . โดยการจัดนั้นจะต้องหา Prop ที่เป็นขั้นบันไดหรือกล่องมาประกอบการจัด..และจัดสินค้าโดยไล่ความสำคัญของ สินค้าจากฐานด้านล่างไล่ขึ้นไปถึงด้านบน.
เยี่ยมเลย ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันกัน
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆนะครับ ทำงานด้านนี้พอดีเลย อิอิ ได้ความรู้ใหม่ดีมากเลยครับ
ตอบลบดีมากเลย ขอบคุณที่ช่วยกันแบ่งปันความรู้ให้แก่โลกใบนี้ครับ
ตอบลบexcellent
ตอบลบสุดยอดเลยค่ะพี่เจ้าของบล็อก + คุณ uddee ด้วยนะค่ะ ขอขอบพระคุณที่แบ่งปันนะค่ะ ได้ข้อมูลไปทำ วิทยานิพนธ์เพียบเลยค่ะ อิอิ
ตอบลบขอบคุณมากเลยค่ะ เข้าใจง่ายดี
ตอบลบสุดยอดเลยครับ เป็นการเก็บข้อมูลที่ดีเยี่ยมเลยครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณครับ สำหรับความรู้ดีๆ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้นี้มากมายเลยครับ
ตอบลบเป็นข้อมูลที่ครบถ้วนยอดเยี่ยมค่ะขอขออนุญาตนำข้อมูลบทความเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานนะคะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ