หลักของการใช้สีในการจัดเรียงสินค้า
โดยที่กล่าวมาในบทของ ทษฎีศิลป์ (BASIC ART)ซึ่งผมได้พูดถึงเรื่องของโครงสี วงจรสี วรรณะของสี และความหมายของสีหรืออารมณ์ของสีไปแล้ว..แต่สำหรับการจัดเรียงโดยใช้สีนั้น ก็ไม่มีอะไรมากมายครับ.หลักของมันก็คือการจัดแบบไล่โทนสีจากอ่อนไปหาโทนสี เข้มในส่วนนี้มักใช้ความรู้สึกทางสายตาเป็นตัวกำหนดครับ หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ การไล่สีจากวงจรสีครับโดยดูในรูปวงจรสี ผมจะยกตัวอย่างจากการไล่สีเหลืองก่อน (เบอร์ 1 ) โดยใช้วิธีการไล่สีแบบตามเข็มนาฬิกาครับ..แล้วก็ไล่ไปตามสีของช่องสีถัดไป เรื่อยๆครับ.ซึ่งก็ไม่ยากอะไรมากนัก..แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเริ่มจาก สีเหลืองทุกครั้งก่อนนะครับ
ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการไล่สีของเรา เป็นหลักว่าจะไล่สีแบบทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา หรือจะจัดเรียงสินค้าแบบแบ่งกลุ่ม โทนสีร้อน-เย็น แล้วแต่สะดวกหรือข้อจำกัดในเรื่องสีของสินค้าที่ผลิตออกมาครับ..ข้อดีของการ จัดแบบนี้ก็คือทำให้ดูสบายตาและอยู่บนหลักการที่ถูกต้องตามวงจรของสีครับ..
การใช้องค์ประกอบทางศิลปะมาใช้จัด DISPLAY / VISUAL MERCHANDISE
สำหรับ ใน การจัด DISPLAYนั้นเราต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะเข้ามาช่วยเราในการเรียกร้อง หรือดึงดูดความสนใจของผู้คนครับ. ทำไมถึงต้องใช้ความรู้ทางด้านศิลป์เข้ามาช่วยครับ อย่างแรกก็เรื่องของความสวยงาม การจัดวางอย่างเป็นจังหวะ การใช้สีสันต่างๆ อย่างลงตัวทั้งหมดก็เพื่อทำให้ผู้คนที่พบเห็นเกิดภาพจินตนาการความอยากได้ และเกิดการเลือกซื้อ.โอเคเรามาดูกันครับว่าการใช้องค์ประกอบทางศิลป์มีอะไร บ้างครับ
องค์ประกอบทางศิลป์ที่ใช้ในการจัด DISPLAY / VISUAL MERCHANDISE
1 เอกภาพ UNITY
2 ความสมดุล BALANCE
3 การเน้น EMPHASIS
4 ความกลมกลืน HARMONY
5 ความขัดเเย้ง CONTRAST
6 จังหวะลีลา RHYTHM
1 เอกภาพ UNITY คือ การเลือกสินค้าที่จะ DISPLAY เป็นไปในทิศทางเดียวกันเช่น เป็น COLECTION เดียวกัน เป็นสินค้ากลุ่มเดียวกัน มีวัสดุหรือTEXTURE ชนิดเดียวกันมาจัดแสดง..ตามตัวอย่างรูปด้านล่างครับ.
2 ความสมดุล BALANCE คือ ความพอเหมาะพอดีในสัดส่วนต่างๆทั้งซ้ายและขวา ในการจัด DISPLAY ซึ่งจะต้องคำนึงในส่วนนี้เดียวเพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกหนักไปทางด้านใด ด้านหนึ่งครับ.โดยทางด้านศิลปะนั้นความสมดุลนั้นมี2แบบด้วยกันครับ
2.1 ความสมดุลแบบ สมมาตร คือ ความสมดุลแบบทั้ง2ด้านซ้าย-ขวาเท่ากันครับ. ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกทั้งซ้ายและขวานั้นเท่ากันเหมือนกับเราพับกระดาษ ให้2ข้างเท่ากันแล้วคลี่ออกมาแล้วรูปในกระดาษมันเท่ากันทั้ง2ด้านตามรูปด้าน ล่างครับ
2.2 ความสมดุลแบบ อสมมาตร คือ ความสมดุลแบบทั้ง2ด้านไม่เท่ากันและมีรูปทรงหรือรูปแบบที่ต่างกันแต่เมื่อ มองดีๆแล้วก่อให้เกิดความรู้สึกที่มีความถ่วงดุลกันทำให้รู้สึกเท่ากัน โดยส่วนใหญ่การจัด DISPLAY สินค้ามักจะใช้แบบนี้กันเป็นส่วนมาก ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง
3 การเน้น EMPHASIS คือ การสร้างจุดเด่นหรือเน้นเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการใช้สีตรงกันข้ามกันเพื่อให้เกิดความสะดุดตาหรือใช้ PROPประกอบการจัด DISPLAY จำนวนมากเพื่อให้ดูโดดเด่น และการตั้งกองสินค้าให้ดูใหญ่โตเป็นต้น..ตามตัวอย่างรูปด้านล่างครับ
4 ความกลมกลืน HARMONY คือ การสัมพันธ์กันในเรื่องประเภทของสินค้า,เรื่องของสี, การใช้งาน, รูปร่าง,ลักษณะ พื้นผิว..เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วดูกลมกลืนและเข้ากันได้ดีไม่ก่อให้ เกิดความรู้สึกแตกแยกจากพวกเดียวกัน .. ดูจากรูปด้านล่างครับ
5 ความขัดเเย้ง CONTRAST คือ ความไม่ลงลอยหรือไม่เข้าพวกกันเพื่อ เรียกร้องความสนใจ เพื่อให้ดูไม่น่าเบื่อ กับผู้ที่พบเห็นแล้วทำให้เกิดความสนใจหรือข้อสังเกตุ..โดยภาพรวมของการใช้ ความขัดแย้งนั้นถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว ถ้ามองภาพรวมของการจัด DISPLAY เป็น100% แต่ให้ใช้รูปแบบความขัดแย้งแค่20% ก็พอครับ. แต่ถ้ามากกว่า 20เปอร์เซ็นต์อาจเกิดความรู้แตกแยกกันครับ..จากรูปตัวอย่างด้านล่างนั้นการ จัด DISPLAY โดยใช้สีเป็นตัวขัดแย้งกันครับ. คือ สีแดง+ส้ม (80 %) ซึ่งมันตรงข้ามกับสีน้ำเงิน (20%) ตามวงจรของสี ดูที่รูปด้านล่าง
6 จังหวะลีลา RHYTHM คือ การใช้พื้นที่เพื่อการจัดองค์ประกอบความถี่ห่าง .การเว้นช่องไฟของวัตถุหรือสินค้าทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง.เพื่อให้เกิด จังหวะที่ดูแล้วไม่น่าเบื่อหรือแน่นจนรู้สึกอึดอัดจนเกินไป..ด้วยจังหวะและ ช่องไฟที่พอดีตามรูปด้านล่างครับ
โดย ทั้งหมดก็ประมาณ 6 ข้อ ตามที่ได้กล่าวมาครับ . และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำก็คือการสำรวจข้อบกพร่องต่างๆว่าเหมาะสมหรือไม่ เหมาะสมครับ ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่ความพึ่งพอใจของผู้ที่จัด DISPLAY และประสบการณ์ ของคนนั้นๆครับ.
ขอบคุนมากเลยค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์มากจริงๆ
ตอบลบ