วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

Organized shelves to sell well 2.

จัดชั้นวางสินค้ายังไงให้ขายดี 2.
นิตยสารเส้นทางเศรษฐี ฉบับที่ 248

3 . ต้องมีมิติ

.ยุคนี้เป็นยุคไซเบอร์ครับ การจัดแบ่งพื้นที่จัดเรียงสินค้าบนชั้นวางสินค้า แบบธรรมดา คงใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว กับผู้บริโภคที่มีทางเลือกในการบริโภคมากมาย จู้จี้ ขี้บ่น เรื่องมาก และสุดแสนจะเอาใจยาก ฉะนั้นการจัดแบ่งพื้นที่จัดเรียงสินค้า ต้องสามารถสร้างความน่าสนใจใหม่ๆให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และยังต้องสามารถสร้างแรงดึงดูดต่อการซื้อสินค้านั้นได้อย่างต่อเนื่อง ในทุกๆระดับของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างที่ 1 การจัดแบ่งพื้นที่ตามจำนวนรายการสินค้าที่จัดเรียงอย่างละเท่ากัน

  AA BB CC DD EE
AA BB CC DD EE
ในที่นี้ผมขอจัดแบ่งกลุ่มสินค้า ออกเป็น A ถึง E อย่างง่ายๆ ดังนี้
...A : สินค้าออกใหม่
...B : สินค้าขายดี
...C : สินค้าขายปกติ
...D : สินค้าที่มีเสริมไว้เฉพาะลูกค้าบางกลุ่ม
...E : สินค้าขายน้อย
...จากผังการแบ่งสินค้าในรูป เราจะพบว่า หากสินค้า A และ สินค้า B ขายดี จะหมดเร็ว ทำให้พนักงานต้องเติมสินค้าบ่อยขึ้น ส่วนสินค้า D และ สินค้า E ขายน้อย ก็จะตกค้างอยู่บนชั้น จำนวนมาก

ตัวอย่างที่ 2 การจัดแบ่งพื้นที่ตามปริมาณการขายแต่ละรายการอย่างละไม่เท่ากัน  



AAA BBB CC D E
AAA BBB CC D E
...จากผังในตัวอย่างนี้ เราจะพบว่า สินค้า A และ สินค้า B มีโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณในการจัดเรียงเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันสินค้า D และ สินค้า E ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายน้อย ก็จะมีปริมาณที่ตกค้างอยู่บนชั้น ลดลง

ตัวอย่างที่ 3 การจัดแบ่งพื้นที่จัดเรียงสินค้าให้เกิดมิติ 
...ในกรณีที่ร้านค้ามีพื้นที่ในการจัดเรียงสินค้าค่อนข้างจำกัด หรือ มีรายการสินค้าที่ต้องการจัดเรียงค่อนข้างมาก ทำให้ต้องเพิ่มความเข้มงวดมากๆเรื่องพื้นที่ในการจัดเรียง เรียกกันว่าละเอียดเป็น ตารางมดเดิน กันเลยที่เดียว ขนาดทุกขนาดมีอิทธิพลต่อการมองเห็นทุกด้าน ขนาดด้านกว้าง ด้านยาว ด้านสูง พื้นที่บนอากาศที่แบคทีเรียร่องลอยอยู่ ก็ต้องถูกนำมาคิด มาคำนวณพื้นที่การจัดเรียงสินค้า เพื่อให้เกิดยอดขายมากสุดบนความน่าสนใจสูงสุด ให้จงได้
...ที่นี้ ต้องทำอย่างไร
A1A1 A2A2 B1B1 B2B2 C D
A1A1 A2A2 B1B1 B2B2 C D
A1A1 A2A2 B1B1 B2B2 C D

...จากผังจะพบว่า เราสามารถเพิ่มสินค้า A ซึ่งเป็นสินค้าออกใหม่ ได้เพิ่มขึ้นอีก 1 รายการ และ เพิ่มสินค้า B ซึ่งสินค้าขายดี ได้อีก 1 รายการ โดยจำนวนสต๊อคสินค้าที่อยู่บนชั้น ทั้ง A และ B ยังคงเท่าเดิม ส่วนสินค้า E ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายน้อย ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปยังตำแหน่งที่มีความสำคัญลดลง ในขณะเดียวก็เพิ่มมิติในการมองเห็นสินค้าที่อยู่ด้านล่าง ให้ชัดเจนขึ้น ด้วยการลดขนาดความลึกของชั้นวางสินค้าลง  และเพิ่มมิติความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยการเพิ่มป้าย " ขายดี " , " สินค้าใหม่ " หรือจะเป็นป้ายที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าก็ได้มิติของความน่าสนใจเพิ่ม ขึ้นเช่นเดียวกัน
...ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนชั้นวางสินค้าให้เกิดมิติในการมองเห็นเพิ่ม  ของแผนกซีดี ในร้านสะดวกซื้อร้านหนึ่ง
..ท่านผู้ประกอบการที่เคารพทุกท่านครับ ...กระผมเชื่อในความคิดสร้างสรรค์ของทุกๆท่าน มิติในการจัดเรียงสินค้าไม่มีสูตรสำเร็จครับ  ขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของสินค้าที่ต้องการ  ,ชนิดของสินค้า , สถานที่ขาย , จุดประสงค์ในการจัดเรียง , รูปแบบการขาย , ทุกองค์ประกอบมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด และทีสำคัญมากๆ
...ก็คือ
...พลังความคิดสร้างสรรค์ของตัวท่านเองครับ

4.ต้องมี GOLDEN ZONE

…GOLDEN ZONE คืออะไร
…GOLDEN ZONE คือการกำหนดพื้นที่ที่ต้องการให้สินค้าที่อยู่ในตำแหน่งนี้ขายดีที่สุด
...แล้วกำหนดจากอะไร
...สมมติฐานง่ายๆ ครับ
...สินค้าที่ถูกมองเห็น ย่อมมีโอกาสการขาย มากกว่า สินค้าที่ไม่ถูกมองเห็น
...สินค้าที่ถูกมองเห็นมากที่สุด  ย่อมมีโอกาสการขายสูงสุด
...พื้นที่ที่ทำให้สินค้าถูกมองเห็นมากที่สุด ก็คือ พื้นที่ที่ทำให้สินค้ามีโอกาสในการขายสูงสุด พื้นที่ตำแหน่งนี้ล่ะครับ ที่เราเรียกว่าพื้นที่ทำเงิน ทำทอง หรือ GOLDEN ZONE
…แล้วมันอยู่ตรงไหน
...เริ่มที่ความสูงกันก่อนนะครับ ระดับความสูงที่สินค้ามีโอกาสถูกหยิบซื้อมากที่สุด ก็คือระดับความสูงที่ได้รับการมองเห็นมากที่สุด ในที่นี้ก็คือระดับสายตา หรือ ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย ซึ่งมาตราฐานผู้บริโภคชายไทยหญิงไทย อยู่ประมาณ 110 - 135 เซนติเมตร

 ...ความกว้างของ GOLDEN ZONE  ก็เช่นเดียวกัน ระดับความกว้างของสินค้าที่มีโอกาสถูกหยิบซื้อมากที่สุด ก็คือระดับความกว้างที่ถุก กำหนดจากมุมของการกวาดสายตา ซึ่งมุมแคบที่สุด จนถึงมุมที่กว้างที่สุด อยู่ประมาณ 15-75 องศา ที่ระยะห่างระหว่างสินค้ากับผู้บริโภค ไม่เกิน 90 เซนติเมตร ( ขึ้นอยู่กับระยะทางเดินที่กำหนดขึ้นในผังของร้าน )
..ความสูงได้แล้ว ความกว้างได้แล้ว ...เพราะฉะนั้น ความสูง x ความกว้าง = พื้นที่ GOLDEN ZONE
...ซึ่งในพื้นที่นี้ สมองมนุษย์โดยทั่วไป จะตอบสนองความจดจำในตัวสินค้าที่ถูกมองเห็นได้ประมาณ 7 ชนิดเท่านั้น โดยใช้เวลาในการจำแนกสินค้าเพียงเสี้ยววินาที ( ประมาณ 0.16 วินาที ) และตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางของพื้นที่นี้ ก็คือ ที่สุดของที่สุดของ GOLDEN ZONE ซึ่งผู้ประกอบการทุกท่าน ควรให้ ความสำคัญเป็นอย่างมากกับทุกองค์ประกอบที่อยู่ในตำแหน่งนี้ และ  ควรเป็นตำแหน่งแรกสุดที่พลังความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเรียงสินค้าของท่าน จะเข้าไปขยี้ใจ ละลายความลังเลที่อยู่ในกระเป๋าเงินของผู้บริโภค
เข้มข้นขึ้นไปทุกขณะแล้วนะครับ แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้า  โชคดี มีชัย ค้าขาย ร่ำรวย รวย...รวย...รวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น